Section outline

    • หัวข้อนี้ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาความรู้ด้านไซเบอร์ ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย

      1. กฎหมาย ระบียบ ข้อบังคับที่ควรรู้ เกี่ยวกับไซเบอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
      2. ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านไซเบอร์
    • “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายความว่า มาตรการหรือการดําเนินการที่กําหนดขึ้น เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
    • “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดย อัตโนมัติ

    • บทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และบทบัญญัติ
      เกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เป็นการเพิ่มเติม ไม่ว่าจะซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้นหรือไม่ก็ตาม

    • Cybersecurity หรือ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ การนำเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีและกระบวนการที่รวมถึงวิธีการปฏิบัติที่ถูกออกแบบไว้เพื่อป้องกันและรับมือที่อาจจะถูกโจมตีเข้ามายังอุปกรณ์เครือข่าย โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ ระบบหรือโปรแกรมที่อาจจะเกิดความเสียหายจากการที่ถูกเข้าถึงจากบุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต...
    • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่าการ "ออนไลน์" (Online) หรือการเข้าสู่โลก "ไซเบอร์" (Cyber) นั้นมีประโยชน์และสร้างความสะดวกอย่างมหาศาลทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน การสันทนาการหรือบันเทิงต่างๆ เพราะทำให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนหรือใช้บริการสารพัดอย่างได้โดยไม่ต้องเดินทางไปพบกันจริงๆ และทำได้ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย แต่ในทางกลับกันเป็นช่องทางให้อันตรายต่างๆ ที่เรานึกไม่ถึง เข้ามาถึงตัวเราหรืออุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวเราได้ตลอดเวลา โดยที่เราไม่รู้เห็นหรือไม่ทันระวังตัวเลยเช่นกัน
    • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตระหนักถึงความ สําคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งต่อภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน จึงได้มอบหมายให้ สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA จัดทํา คู่มือ “คนไทย รู้ทันภัยไซเบอร์” ขึ้น เพื่อให้คนไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาภัยคุกคามทางออนไลน์ รูปแบบต่าง ๆ มีแนวทางในการป้องกันตนเองก่อนตกเป็น เหยื่อ ป้องกันไม่ให้ข้อมูลสําคัญรั่วไหลก่อนผู้ไม่ประสงค์ดีจะนําไปใช้สร้างความเสียหาย และสร้างสรรค์สังคมดิจิทัลที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างมั่นคงปลอดภัยร่วมกัน
    • ปัจจุบันเทคโนโลยีทางไซเบอร์ได้มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งพื้นที่ไซเบอร์ได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่งสําหรับการดํารงชีวิตของคนในสังคม เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น การเข้าถึงเทคโนโลยี ของผู้คนจึงเป็นไปได้โดยสะดวกมากขึ้นตาม โดยเทคโนโลยีทางไซเบอร์ที่พัฒนาและเป็นที่นิยมอย่างมาก - ในปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีทางไซเบอร์ในการค้นหาข้อมูล (Search Engine) เช่น Google Yahoo เป็นต้น เทคโนโลยีไซเบอร์ในรูปแบบพื้นที่ทางสังคม อาทิ Facebook, Twitter, Instagram, Line, Youtube หรือ ระบบ การประชุมทางไกล (Video Conferencing) ที่กลายมาเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ...
    • Cyber Hygiene เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติและข้อควรระวังที่ผู้ใช้ดำเนินการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดระเบียบข้อมูลที่สำคัญ ปลอดภัย และปลอดภัยจากการโจรกรรมและการโจมตีจากภายนอก
    • ความมั่นคงทางไซเบอร์ กลายมาเป็นประเด็นสำคัญต่อการดำรงอยู่ของรัฐต่างๆ เนื่องด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ ที่นำพาการพัฒนาเทคโนโลยีกระจายสู่นานาประเทศ ทำให้เกิดการเข้าถึงของข้อมูลต่างๆ และการนำไซเบอร์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการและดำเนินนโยบายต่างๆของประเทศ เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ ...